ลดค่าไฟฟ้าห้องเย็นทำไงดี
ค่าไฟห้องเย็นแพงไหมเท่าไร ผมมีเคล็คลับให้ค่าไฟถูกลง ใครจะมีห้องเย็นต้องอ่าน ไม่ยาก อย่างน้อยให้รู้ไว้คุยกับช่างได้ ลดต้นทุนให้ธุรกิจลูกค้าได้ห้องเย็นประหยัดไฟ ห้องเย็นเป็นส่วนสำคัญมากในการประกอบธุรกิจด้านอาหาร หรือสินค้าที่ต้องใช้ห้องเย็น ลูกค้าท่านใดที่มีห้องเย็นอยู่แล้วหรือกำลังตัดสินใจซื้อห้องเย็น ปัจจัยหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยนั่นก็คือ ค่าไฟฟ้า ที่ใช้กับห้องเย็น
เดือนๆ หนึ่ง ห้องเย็นเล็กๆ ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ค่าเริ่มต้นที่ หลักพันบาทแน่นอน ถ้าขนาดใหญ่ก็หลายหมื่นจนถึงหลักแสนก็มี
ถ้าเราประหยัดค่าไฟได้นั่นหมายถึงต้นทุนลดลง กำไรก็เพิ่มขึ้น นั่นเอง มาดูกันว่าเราจะลดค่าไฟฟ้าได้ยังไงบ้าง
1. ตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสินค้า
2. ตั้งค่าช่วงเวลาการละลายน้ำแข็ง Defrost
3. ตั้งค่าช่วงเวลาในการตัดและต่อเครื่องคอมเพรสเซอร์
4. เปิดปิดประตูให้น้อยลงถ้าเป็นไปได้
5. ไม่กระแทกผนังห้องเย็นจนบุบหรือเป็นรอยรั่ว
6. ทำความสะอาดรังผึ้งแผงคอยร้อนสม่ำเสมอ
7. เช็คระดับน้ำยาสม่ำเสมอ
8. ระบบไฟฟ้าเสถียร
1. ตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสินค้า
สินค้ามีหลายประเภทแต่ละประเภทใช้อุณหภูมิการเก็บไม่เท่ากัน เช่น เก็บผักผลไม้ โดยทั่วไปจะใช้แค่ 3 ถึง 8 องศาช่วงนี้ แต่ถ้าเราตั้งไว้ที่ต่ำกว่า 0 องศา นอกจากจะทำให้เครื่องคอมเพรสเซอร์ทำงานนานและใช้ไฟฟ้ามากขึ้นแล้ว ยังทำให้สินค้าเสียหายอีกด้วยฉะนั้นการตั้งค่า อุณหภูมิห้องเย็นแนะนำให้ตั้งค่าตามอุณหภูมิที่สินค้าต้องการ จะช่วยประหยัดไฟได้ครับ
2. ตั้งค่าช่วงเวลาการละลายน้ำแข็ง Defrost
ห้องเย็นที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศา ลงไป เช่น -10 หรือ -25 องศาเป็นต้น ทุกห้องจะต้องมีระบบละลายน้ำแข็ง หรือเรียกว่าดีฟรอสต์ ส่วนใหญ่จะใช้ฮีทเตอร์ทำความร้อนเพื่อละลายน้ำแข็งบริเวณคอยล์เย็นในห้องเย็น ที่ต้องละลายน้ำแข็งก็เพื่อไม่ให้น้ำแข็งไปเกาะที่คอยล์เย็น หากเกิดน้ำแข็งเกาะหนาขึ้นจะทำให้ลมเย็นไม่ถูกส่งผ่านไปในห้องเพราะถูกน้ำแข็งกั้นบังเอาไว้การจะประหยัดไฟได้นั้นต้องทำให้ฮีทเตอร์ทำงานให้ น้อยที่สุด เพราะฮีทเตอร์ใช้กำลังไฟฟ้าค่อนข้างสูง ถ้าเทียบง่ายๆ ก็จะคล้ายเตารีด หรือ เครื่องปิ้งย่างไฟฟ้า อุปกรณ์เหล่านี้มีความร้อนจะใช้กำลังไฟฟ้าสูง
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไง ว่าฮีทเตอร์ทำงานตอนไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะอยู่ที่การตั้งค่าตัวควบคุมห้องเย็นครับ ที่ใช้กันแพร่หลายก็จะมีอยู่ 3 ยี่ห้อ CAREL, DIXELL และ Elliwel
ห้องเย็นที่ผมตั้งค่ามาตราฐานไว้เลยคือ Defrost ทุกๆ 3 ชั่วโมง ครั้งละ 30 นาที คำถามถัดมาถามว่า จำเป็นต้องตั้งค่าเท่านี้ตลอดเลยไหม ตอบเลยว่าไม่จำเป็นต้องตั้งแบบนี้เป๊ะๆ ก็ได้ครับ อาจจะตั้งที่ 4 ชั่วโมง ครั้งละ 20 นาทีก็ได้ เพียงแต่สังเกตุให้น้ำแข็งไม่เกาะที่คอยล์เย็นก็เป็นอันใช้ได้
ข้อสังเกตุ ถ้าห้องเย็นอุณหภูมิยิ่งต่ำมาก -25 องศา น้ำแข็งก็จะเกาะเร็วกว่าอุณหภูมิสูง
ขออนุญาตยกตัวอย่างห้องเย็น ที่ลูกค้าใช้แช่เก็บชิ้นส่วนไก่ เก็บในห้องเย็นแค่พักสินค้าระยะสั้นๆ 1 คืน ห้องเย็นใช้แค่ -5 ก็พอ ไม่ให้ไก่แข็งมาก ทีนี้น้ำแข็งในคอยล์เย็นก็จะไม่ค่อยมีแล้ว เราอาจตั้งค่า defrost ไว้ที่ 5 ชั่วโมง ครั้งละ 15 นาทีก็ยังได้
กับอีก 1 ห้อง ลูกค้าใช้เก็บสมุนไพรจีน ที่ 5 องศา ห้องนี้ลูกค้าบอกว่าแทบไม่ต้อง Defrost เลย เพราะที่คอยล์เย็นไม่เกิดน้ำแข็ง
ฉะนั้น อยากให้ลูกค้าสังเกตุห้องเย็นของตัวเองว่าการ defrost เป็นอย่างไรบ้าง อย่าลืมนะครับ ถ้าฮีทเตอร์ทำงานน้อยเท่าไรยิ่งประหยัดไฟมากขึ้นเท่านั้น
ดูการวิเคราะห์ห้องเย็นฉบับเต็ม คลิก
3. ตั้งค่าช่วงเวลาในการตัดและต่อเครื่องคอมเพรสเซอร์
ควรตั้งค่าการหยุดทำงาน และกลับมาทำงานอีกครั้งของคอมเพรสเซอร์ให้ห่างกัน สัก 6-8 องศา (ขึ้นอยู่กับสินค้าด้วยว่า ยอมรับช่วงอุณหภูมิที่ห่างกันได้ไหม) โดยปกติแล้วห้องเย็นแบบห้องชิลแช่ผักผลไม้ จะใช้อุณหภูมิประมาณ 5 องศา และเมื่ออุณหภูมิได้ 5 องศาแล้วเครื่องจะหยุดทำงาน จนกระทั่งอุณหภูมิร้อนขึ้นจนไปถึง 10 องศา (เป็นค่าสมมติ) เครื่องจะกลับมาทำงานอีกครั้ง แสดงว่าเหตุการณ์นี้ตั้งค่าให้ห่างกันแค่ 5 องศาถ้าเราต้องการประหยัดไฟ หลักการก็คือให้คอมเพรสเซอร์หรือเครื่องทำความเย็นสตาร์ทให้ไม่บ่อยเกินความจำเป็น แบบว่า เดี๋ยวตัด เดี๋ยวต่อ เดี๋ยวตัด เดี๋ยวต่อ แบบนี้แสดงว่าเครื่องสตาร์ทบ่อย เราอาจตั้งค่า Diff ของอุณหภูมิน้อยเกินไป หรืออาจเกิดจากห้องเย็นรั่วก็เป็นได้ ที่ทำให้เครื่องตัดต่อบ่อย
แต่ลูกค้าบางท่านต้องการให้อุณหภูมิคงที่ 5 องศา เป็นสินค้าที่ sensitive อุณหภูมิห้ามแกว่งไปจากนี้เกิน 1-2 องศา แบบนี้ถ้าต้องการประหยัดไฟจริงๆ ต้องใช้คอมเพรสเซอร์แบบ Inverter แต่คอมฯ พวกนี้ราคาจะสูงมาก ที่นี่ก็ต้องมาเทียบความคุ้มค่า ระหว่างค่าไฟฟ้ากับราคาคอมเพรสเซอร์แบบไหนจะคุ้มหรือเหมาะกับเรามากกว่ากัน
มาลองดูกราฟห้องเย็นของลูกค้า Topcooling ที่เก็บแช่อาหารทะเล ดูนะครับ ใช้อุณหภูมิ -20 องศา จากรูป จุดที่ 1 คืออุณหภูมิที่ต้องการ เมื่อถึงแล้วเครื่องจะหยุดทำงาน อุณหภูมิจะสูงขึ้นจนไปถึงหมายเลขที่ 2 จากนั้นเครื่องจะกลับมาทำงานอีกครั้ง
สังเกตุกราฟไหมครับว่ามีจุดที่สูงกว่าหมายเลขที่ 3 สูงไปถึงหมายลขที่ 4 รู้ไหมครับว่าตรงนี้เกิดอะไรขึ้น... ก็คือช่วงที่คอยล์เย็น defrost นั้นเอง
ดูการวิเคราะห์ห้องเย็นฉบับเต็ม คลิก
4. เปิดปิดประตูให้น้อยลงถ้าเป็นไปได้
ถ้าเปิดปิดประตูห้องเย็นน้อยความเย็นไม่ออกไปนอกห้องก็จะช่วยประหยัดไฟได้ครับ5. ไม่กระแทกผนังห้องเย็นจนบุบหรือเป็นรอยรั่ว
การเก็บสินค้าในห้องเย็นก็จะมีภาชนะใส่สินค้า เช่น ตะกร้า พาเลท หรืออื่นๆ พนักงานไม่ระวัง โยนสินค้าไปกระแทกผนังห้องเย็นบุบ ยุบ หรือมีช่องให้ลมเย็น รั่วไหลออกไปได้ ฉะนั้นให้ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วย6. ทำความสะอาดรังผึ้งแผงคอยร้อนสม่ำเสมอ
เมื่อเครื่องทำเย็นใช้งานไปได้ สักระยะ 6 เดือนถึง 1 ปี ฝุ่นจะเกาะที่แผงระบายความร้อนบริเวณชุดคอนเด็นซิ่งหรือคอล์ยร้อนหนาขึ้น เรื่อยๆ เราต้องการประหยัดค่าไฟฟ้า เราต้องทำความร้อนแผงคอยล์ร้อน อาจจะเป่าลมก็ได้ เพียงเท่านี้ห้องเย็นก็จะระบายความร้อนได้ดีขึ้น ค่าไฟจะประหยัดไปได้แน่นอน เพราะเครื่องทำความเย็นทำงานน้อยลงนั้นเอง
7. เช็คระดับน้ำยาสม่ำเสมอ
ระบบน้ำยาสารทำความเย็น สามารถดูที่ อุปกรณ์ ไซด์กล๊าส หรือที่ช่างชอบเรียกว่า ตาแมว ให้สังเกตว่ามีฟองอากาศอยู่ไหม ถ้ามีฟองอากาศอยู่เล็กน้อยยังถือว่าปกติ ถ้ามีฟองมาก ให้สันนิษฐานก่อนว่าอาจมีจุดรั่วของน้ำยา ดูรูปตาแมว ไซด์กล๊าสได้ครับถ้าตาแมวใสเลย จะมีอยู่ 2 อย่าง น้ำยาหมด กับน้ำยาเต็ม ตรงนี้จะดูยากนิดนึงครับ ถ้าน้ำยารั่วออกหมด ห้องเย็นจะไม่เย็น จะมีผลเสียกับหลายๆ อย่างเลยครับ เช่น คอมเพรสเซอร์อาจร้อน ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และ อุปกรณ์ไฟฟ้า ยังทำงานอยู่ โดยที่ไม่มีน้ำยา เหมือนเราเสียค่าไฟฟรี ฉะนั้น การตรวจเช็คระดับน้ำยามีผลกับค่าไฟฟ้าเหมือนกัน
8. ระบบไฟฟ้าเสถียร
ในหัวข้อนี้ ไม่ค่อยเกี่ยวกับค่าไฟเท่าไร แต่อยากให้ตรวจสอบด้วยเหมือนกัน ถ้าระบบไฟฟ้าเสถียร จะทำเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่่ถ้าไฟฟ้าไม่เสถียรเช่น ไฟฟ้า 3 เฟส ไฟมาไม่ปกติ คือ ไฟไม่บาลานซ์ ไฟขาดเฟส เฟสโพรเทคชั่น จะไม่ส่งไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ให้ห้องเย็น ทำให้เครื่องไม่ทำงาน ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย ดูรูปและวิดีโอการตั้งค่าได้ครับโทร : 099-129-0789 หรือ 084-013-7350
Line id : phurits
Web : Chokeutsaha.co.th
FB: facebook.com
EmoticonEmoticon